ศึกชิงเก้าอี้บริหารสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากมีการประกาศวันเลือกตั้ง ล็อกวันที่ 8 ก.พ. 67
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศเรื่องกำหนด วันเวลา และสถานที่เลือกตั้งนายกสมาคม อุปนายกสมาคม กรรมการกลาง และองค์คณะตุลาการ (คณะกรรมการวินัยมารยาท และคณะอุทธรณ์) โดยจากที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จะจัดการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกตั้งสภากรรมการ โดยประกาศระบุว่า นายกสมาคม (พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง) แสดงความประสงค์จะลาออกภายในวันที่ 8 ก.พ. 67 เวลา 12.30 นคำพูดจาก สล็อต. เป็นผลให้สภากรรมการทั้งหมดพ้นจากตำแหน่งด้วย
สภากรรมการ มีมติเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 66 กำหนดให้เลือกตั้งสภากรรมการชุดใหม่ภายในวันที่ 8 ก.พ. 67 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ที่ชั้น 2 ของที่ทำการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ (แห่งใหม่ด้านหลังราชมังคลากีฬาสถาน) ทั้งนี้ จะเลือกองค์คณะตุลาการด้วย เพราะจะพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 10 มี.ค. 67 พอดี จึงเลือกตั้งไปในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ ได้เปิดรับสมัครแล้ว เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 66 ซึ่งสโมรสมาชิกต้องเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง สามารถส่งด้วยตัวเองที่ สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ หรือส่งมายังอีเมล รับสมัครจนถึงวันที่ 9 ธ.ค. 66 เวลา 09.00-17.00 น.
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับขั้นตอนก่อนการเลือกตั้ง ในวันประชุมใหญ่วันที่ 8 ก.พ. 67 นั้น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง จะยังนั่งเป็นนายกสมาคมฯ มิได้ลาออกล่วงหน้า ตามที่อาจเข้าใจกันจากข้อความประกาศของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ แต่อย่างใด ซึ่งเมื่อเปิดประชุม พล.ต.อ.สมยศ จะยังนั่งหัวโต๊ะทำหน้าที่ประมุขลูกหนัง ในการประชุมวาระต่างๆ จนปิดงบดุลฯ รับรองงบดุลฯ ส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว ก็จะลาออก เพื่อเข้าสู่วาระการเลือกตั้งสภากรรมการชุดใหม่ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับกระแสข่าวก่อนหน้านี้ ที่ว่ามีสโมสรสมาชิก ขอให้ พล.ต.อ.สมยศ ลงทำหน้าที่ต่อไป แต่เจ้าตัวยังไม่มีท่าทีอะไรนั้น ล่าสุดก็มีกลุ่มสโมสร เข้าสอบถามความชัดเจนจาก พล.ต.อ.สมยศ อีกครั้ง ว่าจะลงหรือไม่ หากลงต่อจะหลีกทาง แต่หากไม่ลงสมัคร กลุ่มดังกล่าว ก็จะส่งผู้แทนของกลุ่มลงสมัคร ซึ่ง บิ๊กอ๊อด ก็ยังนิ่งเหมือนเดิม ทำให้กลุ่มดังกล่าว จะดำเนินการส่งผู้แทนลงสมัครก่อน ถ้าต่อไป พล.ต.อ.สมยศ ตัดสินใจว่าจะลงสมัคร ค่อยถอนตัวภายหลัง
สำหรับองค์ประกอบสภากรรมการ มี 19 คน นายกสมาคม 1 คน, อุปนายกสมาคม 5 คน และกรรมการกลาง 13 คน (เลขาธิการสมาคมฯ เป็นตำแหน่งแต่งตั้งโดยนายก ไม่ได้นับเป็นสภากรรมการ)
ส่วนสโมสรที่มีสิทธิลงคะแนนเสียง รวม 72 เสียง คือ 1.สโมสรไทยลีก รวม 16 เสียง 2.สโมสรไทยลีก 2 รวม 18 เสียง 3.สโมสรไทยลีก 3 ที่ได้อันดับ 1-5 ในแต่ละโซน รวม 30 เสียง 4.แชมป์ลีกสมัครเล่น 1 เสียง 5.อันดับ 1-2 ฟุตซอลลีกชาย รวม 2 เสียง 6.อันดับ 1-2 ฟุตบอลลีกหญิง รวม 2 เสียง 7.แชมป์ฟุตซอลลีกหญิง รวม 1 เสียง 8.แชมป์ฟุตบอลชายหาด รวม 1 เสียง 9.สมาคมนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ ที่สมาคมและสหพันธ์สมาคมนักกีฬาฟุตบอลอาชีพรับรอง 1 เสียง (ข้อ 3-8 นับผลงานฤดูกาลที่จบไปล่าสุด).